วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556


คำชี้แจง       
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้  (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
     กฎหมายตามความเข้าใจของข้าพเจ้า กฎหมายคือผู้สูงสุดในที่ชีวิตที่จะกำหนดและควบคุมพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกใน สังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และข้าพเจ้าคิดว่ากฎหมายเป็นบรรทัดฐานของสังคม" กฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ ดำเนินการเพื่อบังคับผูกพันต่อบุคคลในลักษณะแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (RELATIONS MUTUELLES) กฎหมายมีลักษณะเด่นประการหนึ่งที่สำคัญคือ การมีสภาพบังคับ การบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาค เพราะการมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ การใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ให้เป็นผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้การดำเนินชีวิตในทางสังคม (VIE SOCIALE) ของประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้โดยความสงบสุขของส่วนรวม นอกจากนี้การดำเนินการใช้บังคับกฎหมายยังมีนัยที่รวมถึงการสร้างแบบอย่าง เพื่อให้ราษฎรของประเทศยอมรับและเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันจะส่งผลให้บริบทแห่งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองภายในประเทศสามารถดำเนินการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ราชอาณาจักรไทยได้รับการยอมรับนับถือจากสหภาพและรัฐต่าง ๆ ในเรื่องความสามารถในการรักษาความปลอดภัยและสงบเรียบร้อยภายใน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะ  พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุมการกำหนดอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้ศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุมแล้ว ซึ่งใน พรบนี้ได้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต หากประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น  ผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในกฎกระทรวงทั้งของรัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาปฐมวัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
                ข้าพเจ้ามีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของข้าพเจ้าโดย มีขั้นตอนและประเด็นดังนี้
1.  หัวข้อระดมทรัพยากร (The case for Support) 
            การระดมทรัพยากรถือเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของสถานศึกษา ว่าต้องการจะระดมทรัพยากรในเรื่องใด เพราะเหตุใด  เพื่อให้ผู้สนับสนุนพิจารณา   ดังนั้นการใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัดแต่ได้ใจความที่ตอบคำถามได้เสมอว่า  “จะทำอะไร เพื่อประโยชน์อันใด เมื่อใด ทำอย่างไร” จึงเป็นการเปิดประเด็นที่เป็นความสำคัญลำดับแรกต่อความสำเร็จที่คาดหวังไว้
2.  ภาวะผู้นำของผู้บริหาร  (Leadership)  
             ภาวะผู้นำซึ่งมีหลายคุณลักษณะที่สอดคล้องสนับสนุนให้การระดมทรัพยากรประสบความสำเร็จ เช่น ความมุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษา  การมีมนุษยสัมพันธ์สูง  ทักษะการสื่อสารดี  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความสามารถในการจูงใจหรือดึงดูดความสนใจให้เกิดการมีส่วน หากสถานศึกษามีฝ่ายบริหาร  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูและบุคลากร เป็นผู้มีศักยภาพของการเป็นผู้นำแบบเกื้อหนุนอยู่ด้วย   ย่อมเกิดการทำงานรณรงค์ระดมทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น 
3.  แหล่งทรัพยากรสนับสนุน (Support Sources) 
         ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรหรือแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาไว้ให้เป็นหมวดหมู่ ค้นหาได้อย่างสะดวก   ทั้งรายชื่อบุคคล  แหล่งเรียนรู้ องค์กร  สถานประกอบการและทรัพยากรธรรมชาติ  เพื่อประโยชน์ทั้งการระดมทุน  การดำเนินการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรใช้ประโยชน์จากทรัพยากร  รวมทั้งการจัดระบบทรัพยากรของสถานศึกษา  และข้าพเจ้าคิดว่าความสำเร็จของการระดมทุนแบบนี้  ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับของผู้คาดว่าจะบริจาคได้อย่างถูกต้องตามศักยภาพของการบริจาค  ความเป็นไปได้ในการบริจาคและยังขึ้นอยู่กับความต้องการของหน่วยงานที่จะเกาะติดกับกระบวนการรับบริจาคที่ต่อเนื่องนี้   (Brakeley A George, 1980  อ้างถึงใน นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล, 2549)   ดังนั้น  การมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรสนับสนุนเพื่อการจัดการศึกษา  จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำไว้อย่างมีระบบ
4.   เป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ (Goal)
       เป้าหมายเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญต่อการกำหนดทิศทางและวิธีการรณรงค์ขอรับการสนับสนุน  รวมทั้งเป็นการกำหนดแจ้งให้เกิดการรับรู้ เพื่อการตัดสินใจของผู้ให้การสนับสนุน   สถานศึกษาจึงต้องกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพที่คาดหวังนั้น ๆ  ให้มีความชัดเจนด้วย
5.    ระบบการทำงาน (Organization)
        ในระบบการทำงานนั้นข้าพเจ้า ต้องมีการวางแผนการจัดระบบงานระดมทรัพยากร เป็นองค์ประกอบที่สร้างความสำเร็จในการทำงานระดมทรัพยากร  โดยเน้นในการจัดทีมทำงานและมีกระบวนการบริหารที่ดี  ตั้งแต่การวางแผนตลอดแนว  การจัดโครงสร้างการปฏิบัติงานที่มีฝ่ายสนับสนุนต่าง ๆ    จะเกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  เกิดการติดตามความก้าวหน้าของงานได้สะดวก   การวางแผนจึงต้องมีความรอบคอบ   มีรายละเอียดขั้นตอนและปฏิทินปฏิบัติงานที่ชัดเจน  
6.    การประชาสัมพันธ์ (Public Relationship)
       การประชาสัมพันธ์ที่ดี มีวิธีการที่เหมาะสม จะช่วยให้การระดมทรัพยากรประเภทนั้นๆ ได้รับการสนับสนุน เพราะการประชาสัมพันธ์ คือการสร้างความเข้าใจเชิงบวกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสถานศึกษา ทำให้ผู้สนับสนุนเข้าถึงข้อมูลและเจตนารมณ์ได้    และที่สำคัญข้าพเจ้าคิดว่า การประชาสัมพันธ์มิได้ช่วยให้ผู้ที่คาดว่าจะสนับสนุนการระดมทรัพยากรได้สนใจรับรู้และช่วยเหลือเท่านั้น  ยังเกิดกระแสการตื่นตัวต่อคณะ ทำงานระดมทรัพยากรได้ด้วย  ที่จะได้ใช้ความพยายามร่วมกันในการดำเนินงานทุกด้านอย่างเต็มความสามารถ
7.    งบประมาณ (Budgets)
       การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานเพื่อการนำความช่วยเหลือเข้ามาสู่สถานศึกษา ที่มีคณะทำงานช่วยกันหลายฝ่าย ดังนั้นการปฏิบัติงานที่คล่องตัวจึงไม่ควรตัดงบประมาณออกหมดแล้วให้คณะทำงานเป็นผู้เสียสละทุกอย่างเอง ตามคำพูดที่ว่า “จับเสือมือเปล่า”  เพราะการจัดงบประมาณให้กับการดำเนินงานอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การบรรลุความสำเร็จของการระดมทรัพยากรได้   ส่วนจะใช้เงินงบประมาณดำเนินงานเท่าใด จากส่วนไหน  ย่อมเป็นไปตามการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษางบประมาณดำเนินงานอาจใช้ไปในเรื่องของการประชุม   การประชาสัมพันธ์  การติดต่อสื่อสาร    การจัดพิธีการ ฯลฯ  แต่พึงระลึกเสมอว่า  งานระดมทรัพยากรเป็นงานอาสาสมัครและจิตใจเสียสละเป็นหลักสำคัญ  เพื่อจะได้สร้างเจตคติที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นต่อคณะทำงานและผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้สนับสนุน
8.    ความมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) และโปร่งใส (Accountability)
          หัวใจของการระดมทรัพยากร  คือ ความมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) และมีความโปร่งใส  (Accountability)  เพราะถือเป็นการสร้างความศรัทธาเชื่อมั่นต่อผู้สนับสนุนและจะมีผลต่อเนื่องให้เกิดการสนับสนุนที่ยั่งยืนต่อไป   รวมทั้งเกิดการเพิ่มยอดปริมาณการสนับสนุน ทั้งที่ เป็นยอดเงินหรือการสนับสนุนในรูปแบบอื่นประสิทธิภาพและความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา สร้างด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)  นั่นเอง

4. รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ในการจัดการการศึกษามี 3 รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วยดังนี้
1.การศึกษาในระบบ
 2. การศึกษานอกระบบ  
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
 ในการจัดการการศึกษานั้นยังมี  การศึกษาในระบบ ซึ่งมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดม
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาภาคบังคับ ในมาตรา  4 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ..2545   หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ตัวอย่าง เช่น   ทุกคนได้เรียนตั้งแต่ระดับ  ประถมศึกษาหกปี   รวมกับมัธยมศึกษาตอนต้นสามปี รวมกันเป็นเก้าปี ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป ตัวอย่าง เช่น 
การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้                 
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี                           
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้  1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา   2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง 
มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 
ส่วนราชการตาม 2 3 4 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
 
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
            เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการ ศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู 
และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติรวมทั้งในการจัดการศึกษาของรัฐให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ตามที่กฎหมายบัญญัติและให้ความคุ้มครองการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกับกับดูแลของรัฐ ดังนั้น จึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเป็นกฎหมาย
แม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าว
  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ. นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ได้กระทำความผิด เพราะหากบุคลากรผู้นั้นเป็นหนึ่งในกรณียกเว้น
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(๓) นัก เรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(๕) ผู้ ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง            
    ข้าพเจ้าคิดว่าโทษทางวินัยสำหรับข้าราชการซึ่งอยู่ในมาตรา 96  ข้าพเจ้าสามารอธิบายได้ว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัยเว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
 1. ภาคทัณฑ์  
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน  
4.ปลดออก
5.ไล่ออก
ซึ่งผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
10. ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน  
   ข้าพเจ้าเข้าใจคำว่าเด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ดังนี้
 เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ซึ่งอยู่ในความดูแลของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน ซึ่งหากมีผู้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดส่องดูแลอาจจะทำให้เด็กปลอดภัยและเป็นคนดีของสังคมได้
เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้ ซึ่งบางครั้งสามารถพบเห็นได้ตามสถานสงเคราะห์แต่เด็กกำพร้าบางคนก็โดนจับไปเป็นขอทาน หรือการกดขี่ทางเพศ
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งบางครั้งไม่มีแม้แต่ที่อยู่อาศัย สามารถพบเห็นได้ตามสะพานลอย หรือตามสถานีรถไฟต่างๆ
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดนั้นหากไม่มีพ่อแม่ผู้ปกครอง สอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิดอาจจะกลายเป็นปัญหาทางสังคมได้ในอนาคต
ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวันในวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพิ์ และในอินเทอร์เนต ซึ่งทำให้สามารถบ่องบอกหรือสื่อถึงถึงปัญหาของสังคมไทยทุกวันนี้

**************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น