วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ 40 คะแนน)
1. ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
 
              กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
            พระราชบัญญัติ หมายถึง บทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ
            พระราชกำหนด หมายถึง เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อ ประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 
        พระราชกฤษฎีกา หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด 
             เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
      ข้าพเจ้าคิดว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่คนไทยทุกคน ซึ่งหากไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่า ประเทศไทยจะมีแต่เรื่องวุ่นวาย มีการแย่งชิงอำนาจ เอารัดเอาเปรียบ ล่วงละเมิดคนอื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และประเทศไทยก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความสามัคคี ดังนั้นในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ คือ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด คือต้องเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ของคนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทย ดังนั้นการที่เราคิด  หรือจะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้เพราะประเทศไทยมีการปกครองประเทศโดยประชาธิปไตย
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
      ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ควรแก้ไขมาตรา 112 เพราะ ประเทศของเรามีการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในทุกๆระบอบการปกครอง และจะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่ของเราท่านเป็นคนที่ขยันทำงานทุกอย่างเพื่อประชาชนให้อยู่ดี กินดี มีความสุข
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพาทขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร  และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
      ข้าพเจ้าคิดว่าปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาข้าพเจ้าคิดว่า หากเขาไม่รุกรานเรา เราก็ควรที่จะนิ่งไว้และป้องกัน และก็ไม่จำเป็นต้องไปใช้ความรุนแรงโต้กลับเพราะประเทศไทยรัก สงบอยู่แล้วแต่ถ้าหากประเทศเพื่อนบ้านใช้ความรุนแรงก็ควรตอบโต้กลับเพราะ เป็นการบุกรุกเสรีภาพและถือเป็นการล้ำเส้นอาณานิคมของไทยเเละไทยก็ไม่ควรยอมหากเเผ่นดินนั้นเป็นของเรา
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
      ข้าพเจ้า เห็นด้วย กับ “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ”  เพราะ ในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการ ศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่ว ถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา   ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
     จาการที่ข้าพเจ้าได้อ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สามารถให้ความหมายของคำได้ดังนี้
             การศึกษา  หมายถึง  เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง 
             การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง  การศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป
             การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง  การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
             การศึกษาในระบบ   หมายถึง  การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
             การศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ
              การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง  การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
              สถานศึกษา หมายถึง  หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
             สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง  สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
             มาตรฐานการศึกษา หมายถึง  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ให้นิยามมาตรฐานการศึกษาว่า เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบ หรือ การประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร 
            การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง  การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรม ตามปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการทางการศึกษา ว่าการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
           การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ) บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
           ผู้สอน  หมายถึง ผู้บอกวิชาความรู้ให้ผู้แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่ว
           ครู  หมายถึง  ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
            คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
              ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
              บุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
       จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการศึกษา  สามารถสรุปได้ดังนี้
 ความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษาข้าพเจ้าคิดว่า  จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวมหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็นต้องขอขยายความดังนี้
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก  ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532  คำประกาศ  จอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education" ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง
ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษาเชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
 2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ อีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
      ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546
ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3)  นัก เรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6)  คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7)  ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ผู้ ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไรแต่หากคิดจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาก็ควรจะไปสอบ บรรจุให้เรียบร้อยจะได้เป็นครูที่ถูกต้องตามหลักสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
9. หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
    หากข้าพเจ้าต้องการสอบบรรจุครูผู้ช่วยข้าพเจ้าต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
 4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
            จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนวิชากฎหมายการศึกษากับอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านวิชาความรู้และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้อย่างเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักศึกษาเรียนครู สำหรับตัวดิฉันเองตอนแรกก็ไม่รู้เรื่อง weblog เท่าที่ควรแต่พออาจารย์สอนทำให้มีความรู้มากขึ้น เป็นอาจารย์ที่สามารถใช้วิชาที่ยากกับกับเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเรียน weblog สามารถบูรณาการ เข้ากับวิชาอื่นๆ ได้อีกด้วย สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทำงานส่งได้ทุกที่ ชอบมากค่ะสำหรับการเรียนแบบนี้นอกจากตัวเองจะได้ความรู้แล้ว  ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนได้อีกด้วย  สำหรับวิชานี้ดิฉันให้เกรด A ค่ะ และคิดว่าตนเองน่าจะได้เกรด A เช่นเดียวกันเพราะไม่เคยขาดเรียน ทำงานส่งครบทุกชิ้น ขอบคุณค่ะ
              **************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น