วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2
ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

 1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวดที่ 1 ทั่วไป
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบออบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐภา คณะมนตรี และศาลตามราชบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมได้รับความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอ
หมวดที่ 2  พระมหากษัตริย์
มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักระบูชา ผู้ใดละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด มิได้
 ส่วนที่ ๑ บททั่วไป 
มาตรา ๒๖  การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๗  สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
มาตรา ๒๘  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคล ซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อ ต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคล ย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวด นี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียด แห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้
ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
ส่วนที่ ๕ สิทธิในทรัพย์สิน
                        มาตรา ๔๑  สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๑  ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓  อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
           การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม 
มาตรา ๔  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕  ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา ๒๖  การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
               การ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
ส่วนที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
มาตรา ๓๒  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา 
มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดย ทัดเทียมกับบุคคลอื่น
          การ จัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ 
มาตรา ๕๐  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
          การ ศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้เช่น
1.จงบอกประเด็นการเรียกร้องของบุคคลและองค์กรในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มา 3 ข้อพร้อมอธิบายเหตุผลการเรียกร้อง
2. จงอธิบายจุดแข็งและจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามความเข้าใจของนักศึกษา
3. ในการร่าง สภาร่างรัฐธรรมนูญ  2550 ฉบับนี้ ยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญนี้ ด้านใดบ้าง จงอธิบาย

4. ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
               การที่เรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จะทำให้เราสามารถทราบถึงประโยชน์และสิทธิที่ได้รับ   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องรู้ ต้องปฏิบัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ก็เช่นเดียวกันหากเราไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ไม่ปฏิบัติ  เราก็จะไม่ทราบถึงจุดแข็งของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งการที่เรามีความรู้ความเข้าใจ ทำให้ทราบว่า จุดแข็งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550  คือบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐต้องจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทุกชนชั้น ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพต้องได้รับการศึกษาทัดเทียมบุคคลอื่น ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้เพียงพอ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ให้สิทธิประชาชนได้รับหลักประกันและสวัสดิการในการทำงาน ให้สิทธิแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตน ที่สำคัญคือให้มีผลบังคับทันที ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบุข้อความท้ายมาตราต่างๆ ว่า "ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ" หมวดที่ได้รับการบัญญัติขึ้นมาใหม่ เช่น "สิทธิชุมชน" ชุมชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่นของตน หรือการกำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นหากโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือทรัพยากรธรรมชาติ หมวด "การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน" ให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย หรือถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบได้ง่ายขึ้น ประชาชนมีโอกาสยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยตรง รวมถึงการ ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
        การที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าเพราะ ต้องการแก้ไขในส่วนที่ประชาชนได้รับไม่เท่าสิทธิที่ควรจะได้รับหรือแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม ก็เช่น การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมือง  เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคง และระบบพรรคการเมืองเพิ่มความสำคัญขึ้นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมืองลดอำนาจเบ็ดเสร็จลง โดยทำให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น และไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย  การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยาม โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อหลักการ ของความสมานฉันท์ ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ   แต่ทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงขอคัดค้าน  ก็เพราะรัฐบาลส่วนใหญ่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์แก่ตนเองไม่ใช่ประชาชน  
6. ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
                 การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจได้แก่ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการที่ต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน ซึ่งการปกครองทั้งสามอำนาจนี้ คือ ประชาชน คือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ดิฉันคิดว่าหากมองถึงปัญหาปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ ที่ดำรงอยู่ตอนนี้มันกลายเป็นความน่าเป็นห่วงของประเทศไทยเรา เพราะการเลือกตั้งผู้นำประเทศหรือตัวแทนที่นั่งที่จะหารือปรึกษาที่ทำให้ประเทศดีขึ้นนั้นมีความคิดที่จะพัฒนาตัวเองมากกว่าพัฒนาชาติบ้านเมือง จนทำให้หลายประเทศเรียกประเทศไทยเราว่า ประเทศคอรัปชั่น ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างที่สะท้อนให้ชาวโลกได้รู้ถึงระบบการเมืองไทยนั่นเอง ความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางการเมือง ส่งผลต่อประเทศชาติ  ความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น